ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานวิจัย 2567

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2567         

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกิจการของมหาวิทยาลัย จึงได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการด้านต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยในด้านการวิจัย ได้กำหนดระบบและกลไกในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้

 

แผนผังแสดงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กระบวนงาน

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ระบบและกลไก

กิจกรรมและผลการดำเนินงาน

1) การจัดทำคำของบประมาณ

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • คณะกรรมการบริหารโครงการวิจัยและบริการวิชาการ 
  • การจัดประชุมหรือหารือเพื่อรับฟังความเห็นความต้องการ และปัญหา จากกลุ่มเป้าหมาย และส่วนราชการในพื้นที่
  • การประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย
1) คณะกรรมการบริหารโครงการวิจัยและบริการวิชาการ 
     1.1)  ก.บ.ว.  มีการประชุมกำหนดแนวทางการเสนอของบประมาณจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการจัดทำคำของบประมาณเพื่อสนับสนุนงานวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568  ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2566 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 โดยยังคงให้ความสำคัญกับกรอบการวิจัย (ปี 2564-2567) เพื่อความต่อเนื่องและผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนด และเพิ่มประเด็นที่สำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน คือ นวัตกรรมการแพทย์เฉพาะบุคคล  แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ ควอนตัม การวิจัยระบบขนส่งทางราง และได้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่กรอบการวิจัย เพื่อเสนอของบประมาณ Fundamental Fund ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อใช้ในการดำเนินงาน โดยมีกรอบการวิจัย ดังนี้
 
     1.2) การตั้งงบประมาณและการจัดสรรทุนส่งเสริม สนับสนุนด้านการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งมีการหารือในการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนเป็นทุนด้านการวิจัย ในคราวประชุม ครั้งที่ 11/2566 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 โดยมีการปรับแผนงบประมาณให้สอดคล้องกับเป้าหมายของมหาวิทยาลัยและสถานการณ์ปัจจุบัน และหลังการประชุมได้มีการจัดทำประกาศรับข้อเสนอโครงการ และมีการพิจารณาจัดสรรทุนวิจัยแล้ว 
การดำเนินงาน https://www.ubu.ac.th/web/research/content/UBU_Revenue/
 
2) การรับฟังความเห็น ความต้องการและปัญหาจากกลุ่มเป้าหมาย/ส่วนราชการในพื้นที่  
     มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้จัดประชุมหารือกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน ที่ประสงค์ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นเครือข่ายความร่วมมือพันธกิจทางวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมโมเดลต้นแบบเพื่อขจัดความยากจนหลากหลายมิติของเด็กและเยาวชนในระดับพื้นที่ รวมทั้งพิจารณาการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนงาน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 ณ  โรงแรมสุนีย์แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยเชิญหน่วยงานภาคีของรัฐและในพื้นที่ ได้แก่ 
อธิบดี และเจ้าหน้าที่กรมกิจการเด็กและเยาวชน
ผู้แทนกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
อาจารย์นักวิจัยของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ดำเนินงานวิจัยในพื้นที่
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี   
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  และนักวิจัย
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี และหัวหน้า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนทางวิชาการ 6 และหัวหน้า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
หัวหน้าสำนักงานเคหะจังหวัดอุบลราชธานี และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี  และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
 
ประเด็นในการประชุมและหารือ มีดังนี้
  • (1) สถานการณ์ และแนะนำองค์กรในภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการขจัดความยากจน
  • (2) กรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงานภาคี
     ผลจากการประชุมร่วมกัน มีความเห็นชอบทำความร่วมมือ โดยที่ประชุมเสนอเป็น MOA เน้นความร่วมมือเพื่อการวิจัยและการบริการวิชาการ ภายใต้บันทึกความเข้าใจทางวิชาการด้านสหกิจศึกษาและการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ซึ่งเป็นบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     มหาวิทยาลัยได้นำผลจากการมีส่วนร่วมหารือไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน ดังนี้ 
1. จัดทำร่าง MOA เพื่อเสนอหน่วยงานภาคีในการพิจารณาขั้นตอนแนวทางการทำงานตาม MOA
2. เตรียมงบประมาณเพื่อดำเนินงานการลงพื้นที่ และรับฟังปัญหา ความต้องการจากกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชน และครอบครัว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมิติต่าง ๆ เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการ
ภาพกิจกรรม การประชุมหารือร่วมกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน และหน่วยงานภาคี
 
3) กิจกรรมการชี้แจงกรอบการวิจัย/การเสนอของบประมาณ
    มหาวิทยาลัยมีกิจกรรมประชุมชี้แจงการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อเสนอของบประมาณวิจัย Fundamental Fund ประจำปีงบประมาณ 2568 ในวันอังคารที่ 4 กรกฎาคม 2566 เวลา 15.00-16.30 น. 
ผ่านระบบออนไลน์ Zoom เพื่อให้นักวิจัยได้เข้าใจถึงกรอบการวิจัยที่มหาวิทยาลัยมุ่งเน้น รวมทั้งเป้าหมายจากการดำเนินงาน
การนำเสนอกรอบการวิจัย https://www.ubu.ac.th/web/research/content/Fundamental_Fund/
 
4) การประเมินข้อเสนอโครงการ
     สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัยฯ ใช้ระบบผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินข้อเสนอโครงการก่อนจัดส่งคำของบประมาณเพื่อสนับสนุนงานวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (กองทุน ววน.) และประเมินข้อเสนอโครงการทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 (เงินรายได้มหาวิทยาลัย) การประเมินดังกล่าวได้มีการจัดประชุมร่วมกับนักวิจัยเพื่อรับฟังประเด็นในการพัฒนาโจทย์วิจัย และงานวิจัยที่จะดำเนินงาน ผลงานที่จะได้รับ ซึ่งข้อมูลจากการประชุมนำมาจัดลำดับความสำคัญของโครงการก่อนส่งเสนอขอกองทุน ววน.  
 

2) การดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย ได้แก่ ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • พี่เลี้ยง และคณะกรรมการบริหารงานวิจัย
  • การเปิดเวทีชี้แจงโครงการวิจัย และการประชุมกำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกัน
  • การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยทีมนักวิจัยโครงการวิจัยย่อย “การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเสมือนจริงเพื่อขับเคลื่อนวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชน อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี” พร้อมนักศึกษาสหกิจศึกษา ภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่ภายใต้โครงการวิจัย“การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี” เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยกระดับมูลค่าเศรษฐกิจของเศรษฐกิจฐานราก โดยมุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และองค์กรชุมชนรายเดิมและรายใหม่ การพัฒนานวัตกรรมที่เป็นกลไกหรือระบบที่ส่งเสริมและการสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากที่ใช้ได้จริง ระหว่างวันที่ 23 - 24 กุมภาพันธ์ 2567 ณ บ้านคันท่าเกวียน ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ภาพกิจกรรม https://www.ubu.ac.th/news.php?id=24092 
 

3) การติดตามการดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น  ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
  • พี่เลี้ยง และผู้ทรงคุณวุฒิ
  • การจัดประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานวิจัย
การติดตามและการรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย
     1. สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัยฯ จัดประชุมร่วมกับนักวิจัยที่ได้รับทุนงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2566 เพื่อชี้แจงแผนการทำงาน และสร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน ในวันที่ 30 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมพิบูลมังสาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
     2. สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัยฯ จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานระหว่างเจ้าหน้าที่กองแผนงาน นักวิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานด้านการวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จากคณะ/สำนัก/หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ในวันที่ 18 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมพิบูลมังสาหาร ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดี เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวปฏิบัติการดำเนินงานตามข้อบังคับ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีว่าด้วยการบริหารจัดการโครงการวิจัยและบริการวิชาการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก พ.ศ. 2566 และหาแนวทางการรายงานผลการดำเนินงานด้านการวิจัย การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2567 โดยมีหัวข้อใรการแลกเปลี่ยน ได้แก่ สรุปผลการดำเนินงาน รอบ 6 เดือน และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน การรายงานผลการดำเนินงานในระบบ IPMS และการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการดำเนินงานตามข้อบังคับฯ
ภาพกิจกรรม https://qrcode.ubu.ac.th/U2cP9v 
 

4) การประเมินผลการดำเนินโครงการวิจัย

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มอาชีพ  เกษตรกร ฯลฯ
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ
  • การประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
  • การรายงานผลการดำเนินงานโครงการวิจัย 
 1. มีระบบการประเมินรายงานการวิจัย โดยจัดส่งรายงานการวิจัยให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินก่อนจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์
 
2. เผยแพร่ผลงานวิจัยโดยใช้สื่อออนไลน์ 
ทางเว็บไซต์  http://www.ubu.ac.th/web/research
แฟนเพจ (Fanpage) Research UBU 
 

5.ขยายผล ต่อยอดการนำไปผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

 

  • อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย
  • ส่วนราชการในพื้นที่
  • ภาคเอกชน
  • โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์
  • นักวิจัย
  • ภาคเอกชน

 

 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการวิจัยพัฒนา และนำองค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาไปต่อยอดและนำไปใช้ประโยชน์ เช่น 
     1. เข้าร่วมนำเสนอผลงาน จัดนิทรรศการและประกวดในงานวันนักประดิษฐ์ ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร
ภาพกิจกรรม https://www.ubu.ac.th/news.php?id=23924 
 
     2. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ จัดงาน “มหกรรมแสดงสินค้านวัตกรรม และผลงาน Startup อุบลราชธานี 2024” UBU Research & Innovations Expo 2024 หรือ RISE 2024 ระหว่างวันที่ 19 - 20 มีนาคม 2567 ณ ลานลูกยางลิ่วลม ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี เพื่อการต่อยอดผลงานวิจัยที่มีความพร้อม และมีศักยภาพให้สามารถใช้งานได้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อยกระดับศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ Startup SMEs และอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และจังหวัดศรีสะเกษ รวมทั้งผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ใกล้เคียง
ภาพกิจกรรม https://www.ubu.ac.th/news.php?id=24191 
 
     3. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดอุบลราชธานี ระยะที่ 3ร่วมกับโครงการวิจัยย่อยในพื้น อ.ดอนมดแดง  อ.วารินชำราบ และองเมืองอุบลราชธานี ดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดงาน “มหกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนแก้จนคน อีสานใต้” ระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2567 ณ ลาน Event Hall ชั้น 1 สุนีย์ทาวเวอร์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับกลไกความร่วมมือเพื่อขจัดความยากจนระดับจังหวัด 
ภาพกิจกรรม https://www.ubu.ac.th/news.php?id=24193